1685 จำนวนผู้เข้าชม |
EP.2 ตัดตก คืออะไร
การตั้งค่า ระยะตัดตก (Bleed) และ ระยะตัดขอบ (Margin)
ตัดตก ( Bleed ) ทำไมต้องมี และมันคืออะไร เพื่อนๆที่ไม่ได้ทำงานโรงพิมพ์อาจจะงง และสงสัยกันใช่มั้ยล่ะครับว่าอะไรคือตัดตก ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าเวลาที่โรงพิมพ์ พิมพ์งานออกมาไม่ว่าจะเป็นเครื่องพิมพ์ระบบ Digital Offset หรือ Offset ก็ตามงานทุกใบจะพิมพ์ออกมาไม่ตรงกันแป๊ะ 100% อาจจะมีเคลือน บน ล่าง ซ้าย ขวา หรือหมุนขาว หมุนซ้าย ประมาณ ไม่เกิน 1 mm. ดังนั้นเมื่อถึงเวลาตัด..!! อันนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่สำคัญ เราอยากให้เพื่อนๆ จินตนาการตามว่าเวลาตามโรงพิมพ์ตัดงาน จะตัดทีล่ะหลายๆ ร้อยใบเป็นกองๆ เลยทีเดียว ถ้าเราไม่ได้ทำตัดตกเอาไว้เวลาตัดงานออกมาอาจจะเห็นเป็นขอบขาวๆ ได้ทำให้งานจะออกมาไม่สวย ดังนั้นเราต้องทำตัดตกไว้ เผื่อให้เวลาตัดงานออกมาจะได้สวยงามนั้นเอง
เมื่อมีตัดตกแล้วก็ต้องมี ระยะขอบ ( Margin ) หรือระยะปลอดภัยจากการตัด จะอยู่เข้ามาด้านในของเส้นตัดเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะวางตัวอักษร หรือลวดลายกราฟฟิคที่สำคัญ เป็นพื้นที่ที่จะไม่เสี่ยงจะถูกตัด
ทั้ง ตัดตก ( Bleed ) และ ระยะขอบ ( Margin ) สำคัญมากๆ ในการส่งงานพิมพ์กับโรงพิมพ์ทุกที่ เพื่อที่จะให้งานออกมาสำเร็จสวยมาก ดูดี มีมาตรฐาน โดยมาตฐานทั่วไปแล้วระยะ ตัดตก และ ระยะขอบ จะอยู่ที่ 3 mm. เข้าใจง่ายๆ คือ ตัดตกจะเผื่อออกไปจากเส้นตัด ด้านล่ะ 3 mm. และ ระยะขอบ จะเผื่อเข้ามาจากเส้นตัด ด้านล่ะ 3 mm. นั่นเอง
ติ๊กตอกๆๆ....ตัดตกจะเป็น 9.6 x 6 cm. และ ระยะขอบจะเป็น 8.4 x 4.8 cm. นั่นเอง เรามาเริ่มทำนามบัตรให้น้องแมวตัวนี้กันครับ โดยจะทำเป็น 3 แบบคือ
1. ไม่ได้ทำตัดตก
2. ทำอาร์ตเวิร์คเกินระยะขอบ หรือระยะปลอดภัย
3. ทำอาร์ตเวิร์คมีทั้งตัดตก และระยะขอบ
เรามาดูกันครับว่าเมื่อพิมพ์ และตัดออกมาแล้วงานจะออกมารูปแบบไหน
แต่ก่อนอื่นเรามาดูวิธีการตั้งค่า ระยะตัดตก และ ระยะขอบ ในโปรแกรม Illustrator กันก่อน
วิธีการตั้งค่าระยะตัดตก ( Bleed ) และ ระยะตัดขอบ หรือระยะปลอดภัย ( Margin )
เรามาดูกันว่าถ้าเราไม่ทำตัดตก หรือทำอาร์ตเวิร์คสำคัญๆ เกินระยะตัดขอบ ( ระยะปลอดภัย ) เมื่อพิมพ์งานออกมาแล้วนำไปตัดจะออกมาแบบไหน
1. แบบที่ไม่ได้ทำระยะตัดตก ถ้าเราไม่ได้ทำตัดตกเวลานำงานไปตัดอาจจะเห็นขอบสีขาวๆ ได้
2. แบบที่ทำอาร์ตเวิร์คเกินระยะตัดขอบ ( ระยะปลอดภัย ) เมื่อนำไปตัด รูปภาพ ข้อความ หรือกราฟฟิคสำคัญๆ อาจจะตัดกินเข้าไปได้ ตามตัวอย่างหูของน้องแมวโดยตัดจนแหว่งไปเลย ดังนั้นเวลาออกแบบอาร์ตเวิร์คเราไม่ควรออกแบบให้รูปภาพ ข้อความ หรือกราฟฟิคที่สำคัญๆ เกินระยะตัดขอบ
3. แบบที่ทำอาร์ตเวิร์คมีทั้ง ระยะตัดตก และ ระยะตัดขอบ งานที่ออกมาสำเร็จแล้วจะสวยงาม ไม่มีขอบขาว และไม่โดนตัดกินรูปภาพ